บทนี้เราจะสอนวิธีการติดตั้งและใช้งาน package กัน package คือโค้ดที่มีคนอื่นเคยเขียนไว้แล้ว และเราสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่ง package นั้นสามารถเป็นอะไรก็ได้ ในตัวอย่างนี้เราจะลองใช้ package ที่ช่วยให้เราจัดการเรื่องสีได้ดีขึ้น ซึ่ง package ที่ว่านั้นเราไปเอาจากของคนอื่นเขามาใช้ ไม่ได้เขียนเอง
- ติดตั้ง package ชื่อ
color
(เป็น community-made package) โดยสั่งyarn add color
เปิดไฟล์ package.json
จะเห็นว่า Yarn ได้ทำการเพิ่ม color
เข้าไปใน dependencies
แล้วเรียบร้อย
นอกจากนี้ โฟลเดอร์ node_modules
ก็ยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บ package ไว้อีกด้วย
- เพิ่ม
node_modules/
เข้าไปใน.gitignore
(และสั่งgit init
ด้วย เพื่อสร้าง repo ถ้ายังไม่ได้ทำ)
ถ้าสังเกต คุณจะเห็นว่ามีไฟล์ yarn.lock
ที่ Yarn generate ขึ้นมาด้วย ซึ่งไฟล์นี้นั้นก็ควรจะต้องถูก commit ด้วย เพื่อรับประกันว่าทุกคนในทีมจะใช้ package ที่มีเวอร์ชันตรงกันทุกคน แต่ถ้าหากคุณใช้ NPM แทน Yarn นั้น NPM จะมีไฟล์ที่ทำหน้าที่เดียวกัน เรียกว่า shrinkwrap
- เพิ่ม
const Color = require('color');
ไปในindex.js
- ใช้งาน package ดังกล่าวได้ เช่น
const redHexa = Color({r: 255, g: 0, b: 0}).hexString();
- เพิ่ม
console.log(redHexa)
- สั่ง
yarn start
จะเห็น#FF0000
ยินดีด้วย! คุณได้ติดตั้งและใช้งาน package แล้ว!
color
ถูกใช้ในบทนี้เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้ package เล็กๆ ซึ่งเราไม่ต้องการใช้อีกแล้ว เราก็ลบทิ้งได้ โดย
- สั่ง
yarn remove color
Note: ใน dependencies นั้นจะมีอยู่สองประเภท, "dependencies"
กับ "devDependencies"
"devDependencies"
นั้นจะเป็น package ที่จำเป็นเฉพาะในตอน development เท่านั้น ไม่ได้นำไปใช้ตอน production (ปกติมักจะเป็นพวก package ที่เกี่ยวข้องกับการ build ต่างๆ, linters และอื่นๆ) ซึ่งสำหรับ "devDependencies"
เราจะใช้ yarn add --dev [package]
ในการเพิ่ม "devDependencies"
บทถัดไป บทที่ 3 - ตั้งค่าเพื่อใช้งาน ES6 โดยใช้ Babel และ Gulp